CENTURIA Calcium

แคลเซียม

เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน โดยร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมเพื่อใช้ตามความจำเป็นแบบวันต่อวัน ซึ่งจะดูดซึมไปยังกระดูกและฟันโดยตรง เพื่อการเสริมสร้างและคงความแข็งแรง อีกส่วนจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ทั่วร่างกาย เช่น การหดรัดของกล้ามเนื้อ การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาทต่างๆ การเก็บกักและการปลดปล่อยฮอร์โมน รวมถึงกระบวนการการทำงานของอวัยวะอื่นๆที่สำคัญอีกมากมาย 

CENTURIA Calcium

เราต้องการแคลเซียมแค่ไหนต่อวัน ?

CENTURIA Calcium

การดูดซึมและการสะสมแคลเซียม

CENTURIA Calcium

การทานแคลเซียมแต่ละครั้งร่างกายดูดซึมไว้ได้เพียง 20-40% จากปริมาณที่ทานเข้าไป จากการศึกษาพบว่า การสะสมแคลเซียมเริ่มตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์มารดา และลดลงไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพบว่า หลังจากอายุ 30 ปี ร่างกายจะไม่สามารถสะสมแคลเซียมในกระดูกได้อีกต่อไป

CENTURIA Calcium

แคลเซียมกับวิตามินแร่ธาตุต่างๆ

แมกนีเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียม ต้องทำหน้าที่ร่วมกันอย่างแยกจากกันไม่ได้ ซึ่งแมกนีเซียมจะช่วยในเรื่องของการดูดซึมแคลเซียม เพื่อการสร้างเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก

วิตามินดี เป็นตัวช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย โดยเร่งการขนส่งแคลเซียมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด หากแคลเซียมในเลือดต่ำ วิตามินดีจะไปทำปฏิกิริยาที่ไตเพื่อลดการขับถ่ายแคลเซียมออกทางปัสสาวะ เพื่อคงปริมาณแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

วิตามินซี เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียม เพราะวิตามินซีมีสภาวะเป็นกรดซึ่งเป็นสภาวะที่ดูดซึมแคลเซียมได้ดี

แมกนีเซียมและวิตามิน ดี แมกนีเซียมช่วยสร้างวิตามินดีในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูกและฟัน ซึ่งถือเป็นการชะลอระยะเวลาในการเสื่อมของกระดูกและฟันได้


โรคที่เกิดจากการขาดแคลเซียม

CENTURIA Calcium
CENTURIA Calcium

ผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดแคลเซียม

1.วัยผู้ใหญ่ (26 50 ปี) เมื่ออายุ 30 ปี การสะสมแคลเซียมในร่างกายจะหมดไป ขณะที่การสลายตัวของกระดูกกลับเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง พบว่าเริ่มเกิดปัญหาโรคกระดูกตั้งแต่อายุ 40 ซึ่งเร็วกว่าเพศชายถึง 20 ปี เพราะการดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่าเพศชาย ทำให้การสะสมแคลเซียมน้อยตามไปด้วย แคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกจึงถูกดึงออกมาใช้ จนเกิดปัญหาโรคกระดูกสูงกว่าเพศชาย

2.วัยสูงอายุ (51 ปีขึ้นไป) เป็นวัยที่ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมต่ำ ทำให้มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมออกจากกระดูก โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนและการสร้างวิตามินดีลดลง บางรายอาจกระดูกหักได้เพราะแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว โดยเฉพาะ กระดูกสันหลัง กระดูกต้นขาและแขน โดยโรคดังกล่าวจะไม่แสดงอาการใดๆเลย จนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก

3.สตรีมีครรภ์/สตรีให้นมบุตร แม่จะต้องถ่ายทอดแคลเซียมสู่ลูก เพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะเกิดผลเสียทั้งแม่และลูก เช่น แม่มักจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะน่อง, ปวดเหงือกและฟัน จากการศึกษาพบว่า สตรีมีครรภ์เป็นตะคริวถึง 26.8% มักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 25 สัปดาห์

4.ผู้ที่สูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เพราะสารนิโคติน, แอลกอฮอล์, คาเฟอีน จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง Adrenaline ซึ่งทำให้เกิดการย่อยสลายกระดูกมากขึ้น

5.ผู้ที่ผอมบางกระดูกเล็ก มักจะมีการสะสมแคลเซียมในกระดูกไว้ในปริมาณน้อย

6.ผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือนักมังสวิรัติ ทำให้โอกาสได้รับแคลเซียมที่เพียงพอต่อวันมีน้อย

7.ผู้ที่แพ้นม เพราะนมเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียม

8.ผู้ที่มีปัญหาต่อมไร้ท่อ ทำให้มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกมากกว่าคนปกติ

9.ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน

เป็นเกลือแร่ที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดยทั้งหมดที่มีในร่างกาย 99 เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน อยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ และของเหลวในร่างกายของเราเรียกว่า

"แคลเซียม"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy